เมนู

ภัณฑาคาริกเห็นอยู่นั่นเอง เก็บไว้ ทั้งไม่ให้ภิกษุภัณฑาคาริกรับรู้. บริขาร
ของภิกษุนั้นหายไป เป็นอันสูญหายไปด้วยดีแล. ถ้าภิกษุภัณฑาคาริก เก็บ
บริขารนั้นไว้ในที่แห่งอื่น เมื่อสูญหายไปเป็นสินใช้.

[

โจรลักของสงฆ์ในเรือนคลัง ปรับสินไหมภิกษุผู้รักษา

]
ถ้าภัณฑาคารรักษาดี บริขารทั้งปวงของสงฆ์และของเจดีย์ เขาเก็บ
ไว้ในภัณฑาคารนั้นแล. แต่ภิกษุภัณฑาคาริกเป็นคนโง่ ไม่ฉลาด เปิดประตูไว้
ไปเพื่อฟังธรรมกถา หรือเพื่อทำกิจอื่นบางอย่างในที่ใดที่หนึ่ง ขณะนั้นพวก
โจรเห็นแล้ว ลักภัณฑะไปเท่าใด ภัณฑะเท่านั้นเป็นสินใช้แก่เธอทั้งหมด.
เมื่อภัณฑาคาริกออก จากภัณฑาคารไปจงกรมอยู่ภายนอก หรือเปิดประตูตาก
อากาศ หรือนั่งตามประกอบสมณธรรมในภัณฑาคารนั่นเอง หรือนั่งใน
ภัณฑาคารนั้นเอง ขวนขวายด้วยกรรมบางอย่าง หรือเป็นผู้แม้ปวดอุจจาระ
ปัสสาวะ เมืออุปจารในที่นั้นเองมีอยู่ แต่ไปข้างนอกหรือเลินเล่อเสียด้วยอาการ
อื่นบางอย่าง, พวกโจรเปิดประตู หรือเข้าทางประตูที่เปิดไว้นั่นเอง หรือตัด
ที่ต่อลักภัณฑะไปเท่าใด เพราะความเลินเล่อของเธอเป็นปัจจัย ภัณฑะเท่านั้น
เป็นสินใช้แก่เธอนั้นแลทั้งหมด. ฝ่ายพระอาจารย์บางพวกกล่าวว่า ในฤดูร้อน
จะเปิดหน้าต่างนอน ก็ควร. แต่เมื่อปวดอุจจาระปัสสาวะแล้วไปในที่อื่น ใน
เมื่ออุปจารนั้นไม่มี จัดว่าเหลือวิสัย เพราะเธอตั้งอยู่ในฝ่ายของผู้เป็นไข้ ;
เพราะเหตุนั้น ไม่เป็นสินใช้. ฝ่ายภิกษุใดถูกความร้อนภายในเบียดเบียน จึง
ทำประตูให้เป็นของรักษาดีแล้วออกไปข้างนอก. และพวกโจรจับภิกษุนั้น ได้
แล้ว บังคับว่า จงเปิดประตู. เธอไม่ควรเปิดจนถึงครั้งที่สาม. แต่ถ้าพวก
โจรเงื้อขวานเป็นต้น ขู่ว่า ถ้าท่านไม่ยอมเปิด, พวกเราจักฆ่าท่านเสียด้วย
จักทำลายประตูลักบริขารไปเสียด้วย. เธอจะเปิดให้ ด้วยทำในใจว่า เมื่อเรา

ตาย เสนาสนะของสงฆ์ก็ฉิบทาย ไม่มีคุณเลย ดังนี้ สมควรอยู่, แม้ใน
อธิการนี้ พระอาจารย์บางพวกกล่าวว่า ไม่มีสินใช้เพราะเหลือวิสัย. ถ้าภิกษุ
อาคันคุกะบางรูป ไขกุญแจ หรือเปิดประตูไว้, พวกโจรลักภัณฑะไปเท่าใด
ภัณฑะเท่านั้นเป็นสินใช้แก่อาคันตุกะนั้นทั้งหมด. สลักยนต์และกุญแจ เป็น
ของที่สงฆ์ติดให้ไว้ เพื่อประโยชน์แก่การรักษาภัณฑาคาร. ภัณฑาคาริกใส่
เพียงลิ่มแล้วนอน. พวกโจรเปิดเข้าไปลักบริขาร เป็นสินใช้แก่เธอแท้. แต่
ภัณฑาคาริกนั้น ใส่ลักยนต์และกุญแจแล้วนอน, ถ้าพวกโจรมาบังคับว่า
จงเปิด เธอพึงปฏิบัติในคำของพวกโจรนั้น ตามนัยก่อนนั่นแล. ก็เมื่อ
ภัณฑาคาริกนั่นทำการรักษาอย่างนั้นแล้ว จึงนอน, ถ้าพวกโจรทำลายฝาหรือ
หลังคา หรือเข้าทางอุโมงค์ ลักไป, ไม่เป็นสินใช้แก่เธอ. ถ้าพระเถระแม้
เหล่าอี่นอยู่ในภัณฑาคาร เมื่อประตูเปิด ท่านจงถือเอาบริขารส่วนตัวไป
ภัณฑาคาริกไม่ระวังประตู ในเมื่อพระเถระเหล่านั้นไปแล้ว, ถ้าของอะไร ๆ
ในภัณฑาคารนั้นถูกลักไป, เป็นสินใช้แก่ภัณฑาคาริกเท่านั้น เพราะภัณฑา-
คาริกเป็นใหญ่. ฝ่ายพวกพระเถระพึงเป็นพรรคพวก. นี้เป็นสามีจิกรรม ใน
ภัณฑาคารนั้น. แต่ถ้าภัณฑาคาริกบอกว่า ขอพวกท่านจงยืนรับบริขารของ
พวกท่านข้างนอกเถิด อย่าเข้ามาเลย. และพระเถระโลเลรูปหนึ่ง แห่งพวก
พระเถระเหล่านั้น พร้อมด้วยสามเณรและอุปัฏฐากทั้งหลาย เปิดภัณฑาคารเข้า
ไปนั่งและนอน ภัณฑะหายไปเท่าใด เป็นสินใช้แก่พระเถระนั้นทั้งหมด
ฝ่ายภัณฑาคาริกและพระเถระที่เหลือ พึงเป็นพรรคพวก. ถ้าภิกษุภัณฑาคาริก
นั่นเองชวนเอาพวกสามเณรโลเล และเหล่าผู้อุปัฏฐาก ไปนั่งและนอนอยู่ใน
ภัณฑาคาร, สิ่งของใดในภัณฑาคารนั้นหายไป. ของทั้งหมดนั้น เป็นสินใช้
แก่ภิกษุภัณฑาคาริกเท่านั้น. เพราะเหตุนั้น ภิกษุภัณฑาคาริกเท่านั้น ควร

พักอยู่ในภัณฑาคารนั้น. พวกภิกษุที่เหลือ ควรพักอยู่ที่มณฑปหรือโคนค้นไม้
แต่ไม่ควรพักอยู่ในภัณฑาคาร ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง ภิกษุเหล่าใด เก็บบริขารของพวกภิกษุผู้เป็นสภาคกันไว้ในห้อง
ที่อยู่ของตน ๆ เมื่อบริขารหายไป ภิกษุเหล่าใดเก็บไว้ เป็นสินใช้แก่ภิกษุ
เหล่านั้นนั่นแล. ฝ่ายภิกษุนอกนี้ ควรเป็นพรรคพวก. แต่ถ้าสงฆ์สั่งให้ถวาย
ข้าวยาคูและภัต แก่ภิกษุภัณฑาคาริกในวิหารนั่นเอง และภิกษุภัณฑาคาริก
รูปนั้น เข้าไปสู่บ้าน เพื่อต้องการภิกขาจาร, สิ่งของหายไป ย่อมเป็นสินใช้
เเก่ภิกษุภัณฑาคาริกรูปนั้นนั่นเอง. แม้ภิกษุผู้รับหน้าที่เฝ้าวิหาร ที่พวกภิกษุ
ผู้เข้าไปเที่ยวภิกขาจารตั้งไว้ เพื่อต้องการให้รักษาอติเรกจีวร ได้ยาคูและภัต
หรืออาหารเหมือนกัน ยังไปภิกขาจาร, สิ่งของใดในวิหารนั้นหายไป, สิ่งของ
นั้นทั้งหมดเป็นสินใช้แก่เธอ. และสิ่งของนั้นนั่นเอง จะเป็นสินใช้อย่างเดียว
ก็หามิได้ สิ่งของใดหายไป เพราะความประมาทของภิกษุผู้เฝ้าวิหารนั้นเป็น
ปัจจัย, สิ่งของนั้นทั้งหมดเป็นสินใช้แก่เธอเหมือนภิกษุภัณฑาคาริกฉะนั้น
(เหมือนสิ่งของที่หายไปเพราะความประมาทของภิกษุภัณฑาคาริก เป็นสินใช้
แก่ภิกษุภัณฑาคาริกฉะนั้น) ถ้าเป็นวิหารใหญ่, เมื่อเธอเดินไปเพื่อรักษาที่
ส่วนหนึ่ง สิ่งของที่เก็บไว้ในอีกที่หนึ่ง พวกโจรลักเอาไป ย่อมไม่เป็นสินใช้
เพราะเป็นเหตุเหลือวิสัย. ก็ในที่เช่นนั้น เธอควรเก็บบริขารทั้งหลายไว้ในที่
ประชุมแห่งภิกษุทั้งปวง แล้วนั่งในท่ามกลางวิหาร หรือพึงตั้งภิกษุรับหน้าที่
เฝ้าวิหารไว้ 2-3 รูป. ถ้าแม้เมื่อเธอเหล่านั้น มิได้เป็นผู้ประมาท คอยระแวด
ระวังอยู่ข้างโน้นและข้างนี้ นั่นแล สิ่งของอะไร ๆ หายไป, ก็ไม่เป็นสินใช้
แก่เธอเหล่านั้น สิ่งของที่พวกโจรมัดภิกษุผู้รับหน้าที่รักษาวิหารไว้แล้ว ลัก
เอาไปก็ดี สิ่งของที่ถูกลักไปโดยทางอื่น เมื่อภิกษุรับหน้าที่เฝ้าวิหาร เดิน

สวนทางพวกโจรไปก็ดี ไม่เป็นสินใช้แก่เธอเหล่านั้น. ถ้าข้าวยาคูและภัต
หรืออาหารที่จะพึงถวายในวิหารไม่มีแก่ภิกษุผู้รับหน้าที่รักษาวิหาร, จะตั้งสลาก
ข้าวยา 2-3 ที่ ซึ่งมีเหลือเพื่อจากลาภที่ภิกษุเหล่านั้นพึงได้ และสลากภัต
พอแก่ภิกษุผู้เฝ้าวิหารเหล่านั้น ก็ควร แต่ไม่ควรตั้งให้เป็นประจำ. เพราะว่า
พวกชาวบ้าน จะมีความร้อนใจว่า พวกภิกษุผู้รับหน้าที่เฝ้าวิหารเท่านั้น
ย่อมฉันภัตของพวกเรา. เพราะเหตุนั้น จึงควรผลัดเปลี่ยนวาระกันตั้งไว้.
ถ้าพวกภิกษุที่เป็นสภาคกัน ของภิกษุรับวาระเฝ้าวิหารเหล่านั้น นำสลากภัต
มาถวาย, ข้อนั้นก็เป็นการดี, ถ้าไม่ถวาย, ควรให้ภิกษุทั้งหลายรับวาระแล้ว
ให้นำมาถวายเถิด. ถ้าภิกษุผู้รับหน้าที่รักษาวิหาร เมื่อได้รับสลากข้าวยาคู
2-3 ที่ และสลากภัต 4 - 5 ที่เสมอ ยังไปภิกขาจาร, สิ่งของหายไปทั้งหมด
เป็นสินใช้แก่เธอ เหมือนภิกษุภัณฑาคาริก ฉะนั้น. ถ้าภัตหรือค่าจ้างเพื่อภัต
ของสงฆ์ ที่จะพึงถวายแก่ภิกษุผู้เฝ้าวิหารไม่มี ภิกษุรับเอาตามวาระเฝ้าวิหาร
แล้ว จึงให้นิสิตของตน ๆ ช่วยปฏิบัติจะไม่รับเอาวาระที่มาถึง ย่อมไม่ได้,
ควรทำเหมือนอย่างที่ภิกษุเหล่าอื่นทำอยู่ฉะนั้น. แต่ว่าภิกษุใด ไม่มีสหายหรือ
เพื่อน ไม่มีภิกษุผู้ชอบพอกันที่จะนำภัตมาให้, ภิกษุทั้งหลาย ไม่ควรให้วาระ
ถึงแก่ภิกษุเห็นปานนั้น. ภิกษุทั้งหลายตั้งแม้ส่วนใดไว้ในวิหาร เพื่อประโยชน์
เป็นเสบียงกรัง. ควรตั้งภิกษุผู้รับเอาส่วนนั้นเลี้ยงชีพ ( ให้เป็นผู้รับวาระ ).
ภิกษุใดไม่รับเอาส่วนนั้นเลี้ยงชีพ, ไม่ควรให้ภิกษุนั้นรับวาระ. ภิกษุทั้งหลาย
แต่งตั้งภิกษุไว้ในวิหาร แม้เพื่อต้องการให้รักษาผลไม้น้อยใหญ่, ครั้นปฏิบัติ
รักษาแล้วก็แจกกันฉันตามคราวแห่งผลไม้. ภิกษุที่ฉันผลไม้เหล่านั้น ควรตั้ง
ให้รับวาระ. ภิกษุผู้ไม่อาศัย (ผลไม้นั้น) เลี้ยงชีพ ไม่ควรให้รับวาระ. ภิกษุ
ทั้งหลายจะแต่งตั้งภิกษุไว้ แม้เพื่อต้องการให้รักษาเสนาสนะ เตียง ตั่ง และ

เครื่องปูลาด, ควรแต่งตั้งภิกษุผู้อยู่ในอาวาส, ส่วนภิกษุผู้ถืออัพโภกาสิกธุดงค์
ก็ดี ผู้ถือรุกขมูลิกธุดงค์ก็ดี ไม่ควรให้รับวาระ. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
ภิกษุรูปหนึ่งยังเป็นพระนวกะอยู่ แต่เธอเป็นพหูสูท สอนธรรมให้การสอบ
ถาม บอกบาลีแสดงธรรมกถา แก่ภิกษุเป็นอันมาก ทั้งช่วยภาระของสงฆ์ด้วย.
ภิกษุนี้ เมื่อฉันลาภอยู่ก็ดี อยู่ในอาวาสก็ดี ไม่ควรให้รับวาระ, ควรรู้กันว่า
เป็นคนพิเศษ. แต่ภิกษุผู้รักษาโรงอุโบสถ และเรือนพระปฏิมา ควรให้ข้าว
ยาคูและภัตเป็นทวีคูณ ข้าวสารทะนานหนึ่งทุกวัน ไตรจีวรประจำปี และ
กัปปิยภัณฑ์ที่มีราคา 10 หรือ 20 กหาปณะ. ก็ถ้าเมื่อเธอได้รับข้าวยาคูและ
ภัตนั้นอยู่นั่นเอง สิ่งของอะไร ๆ ในโรงอุโบสถ และเรือนพระปฏิมานั้นหาย
ไป เพราะความประมาท, เป็นสินใช้แก่เธอทั้งหมด. แต่สิ่งของที่ถูกพวกโจร
ผูกมัดตัวเธอไว้แล้ว แย่งชิงเอาไป โดยพลการย่อมไม่เป็นสินใช้แก่เธอ, การ
ที่จะให้รักษาสิ่งของ ๆ เจดีย์ไว้รวมกับสิ่งของ ๆ เจดีย์เอง หรือกับสิ่งของ ๆ
สงฆ์ในโรงอุโบสถเป็นต้นนั้น สมควรอยู่, แต่การที่จะให้รักษาสิ่งของ ๆ สงฆ์
ไว้รวมกับสิ่งของ ๆ เจดีย์ไม่ควร. แต่สิ่งของอันใด ที่เป็นของสงฆ์ ซึ่งเก็บ
รวมกับของเจดีย์, สิ่งของ ๆ สงฆ์นั้น เมื่อให้รักษาของเจดีย์ไว้แล้ว ก็เป็น
อันรักษาไว้แล้วทีเดียว เพราะฉะนั้น การรักษาไว้อย่างนั้นควรอยู่. แม้เมื่อ
ภิกษุรักษาสถานที่ทั้งหลาย มีโรงอุโบสถเป็นต้น ตามปักขวาระ สิ่งของที่
หายไป เพราะอำนาจความประมาทย่อมเป็นสินใช้ เหมือนกัน ฉะนี้แล.
จบกถาว่าด้วยของที่เขาฝากไว้

กถาว่าด้วยด่านภาษี


ชนทั้งหลาย ย่อมตระบัดภาษีจากที่นั้น เหตุนั้น ที่นั้น ชื่อว่า
สุงกฆาฏะ ที่เป็นแดนตระบัดภาษี. คำว่า สุงกฆาฏะ นั่น เป็นชื่อของ
ด่านภาษี. จริงอยู่ ด่านภาษีนั้น ท่านเรียกว่า สุงกฆาฏะ เพราะเหตุที่ชน
ทั้งหลาย เมื่อไม่ยอมให้ของควรเสียภาษี เป็นด่านภาษีนำออกไปจากที่นั้น ชื่อว่า
ตระบัด คือ ยังภาษีของพระราชาให้สูญหายไป.
สองบทว่า ตตฺร ปวิสิตฺวา มีความว่า เข้าไปในด่านภาษีที่พระราชา
ทรงทำกำหนดตั้งไว้ในที่ทั้งหลาย มีเขาขาดเป็นต้นนั้น.
สองบทว่า ราชคฺฆํ ภณฺฑํ ได้แก่ ภัณฑะที่ควรแก่พระราชา.
อธิบายว่า ภาษีมีราคา 5 มาสก หรือเกินกว่า 5 มาสก เป็นของที่ตนควร
ถวายแด่พระราชา จากภัณฑะใด, ภัณฑะนั้น. ปาฐะว่า ราชกํ บ้าง. เนื้อ
ความอย่างนี้เหมือนกัน. ภิกษุมีไถยจิต คือ ยังไถยจิตให้เกิดขึ้นว่า เราจะไม่
ให้ภาษีแก่พระราชาจากภัณฑะนี้ แล้วลูบคลำภัณฑะนั้น ต้องทุกกฏ, หยิบ
จากที่ที่วางไว้ใส่ในย่าม หรือผูกติดกับขาไว้ในที่ปิดบัง ต้องถุลลัจจัย, กิริยา
ที่ให้เคลื่อนจากฐาน ชื่อว่ายังไม่มี เพราะเขตแห่งปาราชิก พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงกำหนดด้วยด่านภาษี. ภิกษุยังเท้าที่ 2 ให้ก้าวข้ามเขตกำหนดด่านภาษีไป
ต้องปาราชิก.
สองบทว่า พหิ สุงฺกฆาฏํ ปาเตติ มีความว่า ภิกษุอยู่ภายใน
นั่นเอง เห็นราชบุรุษทั้งหลาย เมินเหม่อเสีย จึงขว้างไป เพื่อต้องการให้ตก
ไปภายนอก ถ้าภัณฑะนั้น เป็นของจะตกได้แน่นอน พอหลุดจากมือ เธอต้อง
ปาราชิก. ถ้าภัณฑะนั้น กระต้นไม่ หรือตอไม้ หรือถูกกำลังลมแรงหอบไป